วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จุดเปลี่ยนสังคมไทย...ไม่ยอมรับคอร์รัปชัน


แม้ว่าการดำเนินงานในช่วงยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่๑ ยังมีข้อจำกัดหลายประการ แต่ทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อกการทุจริตคอร์รัปชันได้เปลี่ยนไปในทางทิศทางไม่ยอมรับการทุจริตมากขึ้น รายงานการสำรวจทัศนะของภาคธุรกิจและภาครัฐที่มีต่อสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กันยายน ๒๕๕๔ บ่งชี้ว่าในปัจจุบันประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องไกลตัวไม่ได้เกี่ยวกับตัวเองโดยตรง และไม่คิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็รวัฒนธรรมไทย เงินใต้โต๊ะเป็นธรรมเนียม  นอกจากนี้ ท่าทีของหลายฝ่ายในสังคมที่แสดงออกอย่างชัดเจถึงการรไม่ยอมรับหรือไม่ยอมทนให้มีการทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นในสังคมไทยอีกต่อไป ทั้งในส่ววนภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันภาคเอกชนได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการวังวนของการทุจริตอโดยได้เร่งผลักดัน โครงการฮั้วกันไม่จ่าย ซึ่งเป็นการจัดระเบียบในส่วนของภาคเอกชนเอง และในส่วนภาคประชาชนได้ส่งสัญญาณไม่ยอมรับการทุจริตและยินดีร่วมต่อต้านการทุจริตโดยผลการสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธันวาคม ๒๕๕๔ พบว่า ประชาชนถึงร้อยล่ะ ๖๔ ไม่เห็นด้วยถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันแต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้แก่สังคม และประชาชนที่พร้อมแจ้งและรายงานเบาะแสเมื่อพบการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งยินดีมีส่วนในการป้องกันต่อต้านคอร์รัปชันก็สัดส่วนเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหล่านี้ นับเป็นสัญญาณ ที่ดีในการที่สำนักงาน ป.ป.ช. จะผนึกกำลังกับทุกภาคส่วน เพื่อเดินหน้าฝ่าวิกฤติคอร์รัปชันในระยะต่อไปให้ได้ ทิศทางที่ควรกันผลักดันมีดังนี้
(๑) ประสานความร่วมมือกับรัฐบาลในการผลักดันการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง ทั้งที่เป็นเรื่องทั่วไปและเรื่องที่ต้องการสนับสนุนระดับนโยบาย โดยแนวทางความร่วมมือทั่วไป อาทิการพัฒนารุปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับต่างๆที่เปิดโอกาศให้ฝ่ายบริหารและหน่วยงานภภาครัฐได้ร่วมเสนอและความคิดเห็นมากขึ้น การวางระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เอื้อต่อการต่อต้านการทุจริต การประสานความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกระแสต่อต้านคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านสาระที่ต้องการเผยแพร่และรูปแบบของสื่อที่จะใช้ และการสนันบสนุนเชิงนโยบาย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศโดยรวมที่สำคัญได้แก่ ผลักดันแก้ไขข้อจำกัดด้านงบประมาณ ที่รัฐบาลควรเร่งรัดแก้ไขแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ให้หน่วยงานได้รีบการสนับสนุนอย่างพอเพียง ทั่วถึง พร้อมทั้งกระจายงบประมาณดำเนินการสู่พื้นที่อย่างเหมาะสม โดนชยเฉพาะในพื้นที่มีปัญหาการทุจริตรุนแรง เร่งรัดนำมาตรการป้องกันการทุจริตที่มีพร้อม ไปใช้ในการปฏิบัติ สนับสนุนกลไกป้องกันการทุจริตที่ภาคเอกชนร่วมกันสร้าง อย่างจริงจัง 
(๒) ส่งเสริมการศึกษา เพื่อสร้างเยาวชนที่เป็นสุจริตชน ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันสนับสนุนส่งเสริมการให้นโยบายการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ปรับทิศทางจากการมุ่งสร้างคนเก่ง คนดี ดำรงชีวิตสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถก่อร่างสร้างตัวอย่างสุจริต มีคุณธรรม และจริยธรรม เน้นสร้างจิตสุจริตชน เพื่อสังคมที่มีเสถียรภาพสามารถพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าอย่างมั่งคง รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการทุจริตของประเทศอย่างยั่งยืน
(๓) พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ สู่การปฏิบัตที่มุงผลสัมถทธิ์ แนวทางที่สำคัญ อาทิ ๑) จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ที่ยึดโยงกับเป้าหมายและแนวทางยุทธศาสตร์ชาติฯ ๒) กำหนดกลไลบริหารขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงการทำงานทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน ป.ป.ช. ๓) เตรียมการพัฒนาและปรับปรุงกฏ ระเบียบ เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับพหุภาคีที่ไม่ใช่ภาคราชการ ๔) สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องรวมถึงบุคลากรของสำนัก ป.ป.ช. ในเรื่องทิศทางและเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงานอและผุ้เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกำหนดแนวทางขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานอย่างชัดเจ โดยมีการแบ่งอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตกลงร่วมกัน และ ๕) วางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในทุกระดับและส่งเสริมการจัดทำดัชนีเพื่อเป็นเครื่องติดตามความก้าวหน้า ประเมินผลความสำเร็จ/ล้มเหลวและรางานต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง


                                                                         เรียบเรียงโดย
                                                              นาย  เพ็ชรสยาม  พรหมงอย
                                                นักศึกษานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น