การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมาส่งผลให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้า
สามารถแข่งขันในเวทีโลก โดยนำแนวคิดการพัฒนาตามกระแสที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ คือ
การพัฒนาแบบทุนนิยมมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ นำไปสู่ความทันสมัย
ขณะที่ยุคโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทยทุกระดับ
เปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างไร้พรมแดน ขณะเดียวกันนำมาซึ่งค่านิยมที่มุ่งวัตถุ
มุ่งความสะดวกสบายรวดเร็ว
หากสังคมไทยปราศจากภูมิคุ้มกันที่ดีจะก่อให้เกิดความเสื่อมถอยทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งเป็นรากฐานของความสุข
ความมั่นคงและความเข้มแข็งของชุมชน
จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาสังคมไทยให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
พร้อมเผชิญสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันแนวคิดและความสำคัญของทุนทางสังคมเป็นที่ยอมรับขององค์กรพัฒนาระหว่างประเทศต่าง
ๆเช่น ธนาคารโลก องค์กรความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ต่างก็ตระหนักในคุณค่าของทุนทางสังคมว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนอันนำไปสู่ความผาสุกของคนในชาติ
โดยเฉพาะ OECD พิจารณาว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากทุน
4ประเภท ได้แก่ ทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนมนุษย์และทุนทางสังคม
ซึ่งจากการประเมินประสิทธิภาพของปัจจัยทั้ง 4 ทุนดังกล่าว
พบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเป็นผลมาจากปัจจัยด้านทุนมนุษย์และทุนทางสังคมถึง
4 ส่วน ขณะที่เกิดจากทุนทางกายภาพและทุนทางการเงินเพียง 2
ส่วนเท่านั้นในบริบทสังคมไทย
ทุนทางสังคมถือเป็นทุนสำคัญที่เสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีงามของคนในสังคมและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคมและการปกครองของประเทศมาช้านาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริการและกระบวนการผลิตในภาคเศรษฐกิจ
การบรรเทาความรุนแรงและแก้ปัญหาในยามที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางเศรษฐกิจมีข้อจำกัด
การแก้ปัญหาและฟื้นฟูให้คนไทยและสังคมไทยกลับมาดำรงสถานะเดิมได้จำเป็นต้องอาศัยทุนทางสังคมช่วยสนับสนุน
ยกตัวอย่างในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ได้มีนักคิดและผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านประเมินว่า
การที่สังคมไทยยังคงดำรงอยู่ได้เนื่องจากมีทุนทางสังคมมากมายเป็นตาข่ายรองรับที่มีความเชื่อมโยงแน่นหนาอยู่บนพื้นฐานเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่มีจุดเด่นหลายประการ
อาทิ การมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ
มีระบบเครือญาติและชุมชนที่เข้มแข็งบนพื้นฐานวัฒนธรรมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีน้ำใจไมตรี ดังนั้น ถ้าประเทศไทยสามารถนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาอนุรักษ์ ฟื้นฟู
พัฒนาและต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมแล้วจะพัฒนาคนในชาติให้มีความสุข
ประเทศชาติมีความสมดุลและเกิดความยั่งยืน “ทุนทางสังคม”
เกิดจาก การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ
บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจสายใยความผูกพัน
และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ใน องค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน
สถาบัน วัฒนธรรม และ องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม
องค์ประกอบหลักทั้ง 4 ด้านมีบทบาทและยึดโยงให้เกิดทุนทางสังคม ดังนี้
2.1 คน มีบทบาทหลักในการพัฒนาประเทศ
ที่ต้องได้รับการพัฒนาในทุกมิติทั้งด้าน สุขภาพ
ที่มุ่งให้คนมีร่างกายแข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้ ด้านจิตใจ ให้เป็นคนที่มีจิตใจดี
มีน้ำใจเอื้ออาทร เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความเสียสละ
มีจิตสำนึกสาธารณะ และรักชาติฯลฯ และด้านสติปัญญา
ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่องจนมีนิสัยใฝ่รู้ไปตลอดชีวิตและพร้อมปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เมื่อมารวมตัวร่วมคิด ร่วมทำในกิจกรรมต่างๆ นำความรู้ที่ตนเองมีอยู่มาแลกเปลี่ยน
เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.2 สถาบัน
มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดพลังร่วมของคนในชุมชน/
สังคมทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยมีสถาบันหลัก อาทิ
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานในสังคมที่หล่อหลอมคนตั้งแต่แรกเกิด
เป็นแหล่งบ่มเพาะ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม
รวมทั้งจิตสำนึกรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม สถาบันศาสนา
เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม กล่อมเกลาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดี
สถาบันศาสนาที่มีความเข้มแข็งจะสร้างศรัทธาให้แก่คนในสังคมและเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
สถาบันการเมืองการปกครอง ทำหน้าที่กำกับ
ดูแลให้สังคมอยู่ในระเบียบแบบแผนและให้คนในสังคมปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดร่วมกัน
สถาบันการศึกษา เป็นแหล่งสร้างความรู้ทางวิชาการควบคู่กับการพัฒนาให้เกิดคุณธรรม
จริยธรรมแก่คนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ภาคธุรกิจเอกชน
ซึ่งมีความพร้อมทางด้านการบริหารจัดการ บุคลากร ทรัพยากร และเครือข่าย
เมื่อประกอบกับการใช้หลักบรรษัทภิบาลในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินธุรกิจที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมแล้วจะเป็นทุนทางสังคมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล
และ สื่อ เป็นสถาบันที่สามารถชี้นำและมีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรม
ค่านิยมของคนในสังคมในอย่างกว้าง
2.3 วัฒนธรรม
เป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ
ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ เป็นในรูปของความเชื่อ ความศรัทธา
จารีตประเพณีที่ดีงาม ค่านิยมความเป็นไทย นอกจากนี้
ยังมีในรูปของแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ฯลฯ
วัฒนธรรมเป็นตัวยึดโยงคนในสังคมให้ตระหนักถึงรากเหง้าของตนเอง เกิดความหวงแหน
ภูมิใจที่จะรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูพัฒนาและต่อยอดเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว
ชุมชน และประเทศ
2.4 องค์ความรู้ ประกอบด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่
โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นศาสตร์และศิลป์ของการดำเนินชีวิตที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
เป็นฐานคิดและหลักเกณฑ์การกำหนดคุณค่าและจริยธรรมที่มีการสั่งสมสืบทอดกันมายาวนานจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
จากอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดความหลากหลายของความรู้ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้
และสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกันของคนและธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกัน
ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้ มีความหลากหลาย
ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อตอบสนองเป้าหมายหรือความต้องการของชุมชนได้
เช่น ความต้องการของตลาด การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้อย่างเหมาะสม เป็นต้น
องค์ประกอบหลักทั้ง 4 ด้านนับว่าเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของสังคมไทย เมื่อใช้
ผสมผสานกันบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและระบบความสัมพันธ์จะก่อให้เกิดเป็นทุนทางสังคมดังนั้น
ทุนทางสังคมจึงเกิดจากการสั่งสม ปรับเปลี่ยน ต่อยอด
พัฒนาและสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาขณะเดียวกัน
ทุนทางสังคมสามารถลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปหากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำสลายลง3
การประเมินสถานภาพทุนทางสังคมการประเมินสถานภาพทุนทางสังคมในองค์ประกอบหลักดังกล่าว
พบข้อเท็จจริงที่สามารถสะท้อนจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์ประกอบเหล่านี้ที่นำไปใช้ประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมต่อไปได้
ดังนี้
3.1 การประเมินสถานภาพคน พบว่า
(1)
สุขภาพของคนไทยต้องเน้นการป้องกันโรคและการเสริมสร้างสุขภาพมากขึ้น
เนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้น
เช่น โรคหัวใจที่มีอัตราการเจ็บป่วยสูงเป็นอันดับหนึ่ง คือ 451.45
ต่อประชากรแสนคนในปี 2546 โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีอัตราการป่วย 389.83 และ
380.75 ต่อประชากรแสนคนในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นต้น
(2)
การศึกษาของคนไทยต้องเร่งพัฒนาคุณภาพทั้งความรู้และคุณธรรมแม้ว่าในภาพรวมคนไทยมีการศึกษาสูงขึ้น
มีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 7.6
ปี ในปี 2545 เป็น 7.8 ปี ในปี 2546 และเพิ่มเป็น 8.1 ปี ในปี 2547 แต่ยังไม่ถึงระดับการศึกษาภาคบังคับและนับว่าต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย
เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ที่ประชากรมีการศึกษาเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี
ขณะเดียวกัน คุณภาพการเรียนในวิชาหลักยังต้องเร่งยกระดับ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น
ม.3 และชั้น ม.6 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับพอใช้และดีร้อยละ 45 และร้อยละ
43 ตามลำดับ1 ส่วนวิชาภาษาอังกฤษ
จากผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (GAT) ในปีการศึกษา 2547 ของนักเรียนชั้น ป. 6 ม. 3 และ
ม. 6พบว่ามีคะแนนผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับต่ำ กล่าวคือ มีคะแนนเฉลี่ย 14.94 12.91 และ
16.23 ตามลำดับจากคะแนนเต็ม 40 คะแนน
และมีข้อสังเกตว่ามีนักเรียนจำนวนไม่น้อยมีเจตคติเชิงลบต่อการเรียน 1
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (GAT) ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 ปี 2546 ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้
พบว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มห่างเหินหลักธรรมทางศาสนา โดยวัยรุ่นร้อยละ 45
ไม่เคยไปทำบุญตักบาตร และร้อยละ 65 ไม่เคยไปวัดฟังธรรมเลยในรอบ 1 เดือน2 เป็นต้น
(3)
คนไทยมีคุณลักษณะที่ดีเอื้อต่อการเพิ่มทุนทางสังคม
ลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของคนไทยหลายประการ อาทิ ความยิ้มแย้มแจ่มใส
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบเอาใจและบริการผู้อื่นเปิดรับสิ่งใหม่ ฯลฯ
เป็นทุนทางสังคมที่ต้องรักษาให้คงอยู่และทำให้สังคมไทยแข็งแกร่ง สงบสุข
และสมานฉันท์
อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถนำไปเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆเช่น
การผลิต การค้า และบริการ
3.2 สถาบันทางสังคมมีบทบาทน้อยในการเป็นทุนทางสังคม
แม้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งถือเป็นสถาบันหลักยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติมาต่อเนื่องยาวนานอย่างไม่เสื่อมคลาย
แต่สถาบันอื่น ๆ
ยังต้องมีการพัฒนาเพื่อผลักดันให้เป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของสังคมไทย
จากบทความที่อ่านมาขอแสดงความคิดเห็นว่า
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
สังคมแบบไหนก็ตาม ถ้าได้รับการปลูกฝังในเรื่องของคุณธรรม
จริยธรรมและคุณค่าของทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่มีอยู่
เราก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งสังคมนิยมให้มาก ค่อยๆพัฒนาให้เป็นรูปธรรมตามกระบวนการ
ใช้ทรัพยากรอย่างถูกวิธีและให้รู้จักคุณค่าของทรัพยากรให้มากๆ
นำมาใช้ก็ต้องรู้จักทดแทนและคิดที่จะรักษามันเอาไว้
ควรที่จะนำเอาเศษรฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันและปลูกฝังให้ลูกหลานนำไปปฏิบัติต่อไปในอนาคตที่อย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น