วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารมวลชนในอนาคต


                 การสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปเยอะจากอดีต เพราะมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเข้ามาทดแทนการสื่อสารมวลชนแบบเดิมอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะหายไปจากวงจรของสื่อสารมวลชนไปหมด แต่ยังสร้างความพึงพอใจให้กลุ่มผู้สนใจที่จะอ่านได้ตอบสนองความคิดเห็นของข่าวได้เช่นเดียวกัน แม้ว่ายุคการสื่อสารโลกาภิวัฒน์จะเข้ามาเป็นเทรน์ใหม่และกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วโลกได้ในปัจจุบัน มีเครื่องมือการสื่อสารทั้งสื่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สมาร์ททีวี โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital television) รวมถึง TV+SOCIAL ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ล้ำสมัยที่สุดในตอนนี้ องค์กรสื่อสารมวลนในหลายๆประเทศทั่วโลกได้ปรับแนวความคิดและกระบวนการผลิตให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เกิดมาใหม่ๆ มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่พร้อมกับการนำเสนอข่าว แนวสี อักษร ของสื่อสิ่งพิมพ์ ให้สบายตาและมีการนำโฆษณาที่ให้ผู้อ่านได้มีส่วนร่วมไปกับข่าวสารต่างๆเพื่อไม่ให้ผู้อ่านเคลียดไปกับข่าวจนเกินไป ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ ก็นำเทคโนโลยีสมัยใหม่นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์และรูปแบบการนำเสนอข่าว แม้การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์จะเข้ามาเป็นที่นิยมของคนทั่วโลกแต่อย่างไรก็ตามทิศทางของสื่อสิ่งพืมพ์ สิ่งโทรทัศน์ ก็ไม่มีวันหายไปจากระบบการสื่อสารมวลชนแต่จะพัฒนาตัวเองให้ทันสมัยและเร็วขึ้น นำเสนอข่าวสารได้ลึก รอบด้าน ไปกว่าเดิม ซึ่งจะตอบสนองความต้องการของผู้สนใจอ่านสื่อสิ่งพืมพ์ได้อย่างชัดเจนขึ้น องค์กรสื่อสารมวลชนพยายามสร้าง Content ข่าวให้น่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อที่จะดึงผู้อ่านให้อ่านข่าวได้นานๆ อีกทั้งยังสร้างเว็บไซต์ออนไลน์เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านข่าวได้มากขึ้น สร้าง Interactivity ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้เกิดข้อถกเถียงระหว่างสารได้ดีขึ้น องค์กรสื่อสารมวลชนยังให้ผู้รับสารทั่วโลกสร้าง Content โต้ตอบกับข่าวสาร แสดงความคิดเห็นต่อข่าวนั้นๆได้ ซึ่งถือว่าเป็นกลุยุทธ์ที่จะดึงฐานผู้อ่านข่าวได้ในระดับหนึ่ง  
                  อย่างไรก็ตามสื่อออนไลน์นั้นกำลังเติบโตและมีความสำคัญมาก ใครที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้ ก็เหมือนเป็นอาวุธเสริมในการทำงานสื่อสารมวลชน แต่ในเมื่เราเป็นคนสื่อสารมวลชน จะเพียงแค่ใช้เทคโนโลยีเป็นไม่ได้ จำเป็นต้องรู้ว่า การสื่อสารรูปแบบนี้อย่างไรเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อคนข่าวเป็นจำนวนมาก คนสื่อสารมวลชนต้องควรปรับใช้สื่อให้หลากหลาย และเหมาะสมกับการทำงาน รูปแบบการนำเสนอทำได้มากมายตามลักษณะของสื่อสารมวลชน
นายเพ็ชรสยาม พรหมงอย ๕๓๐๑๐๖๐๔๐๐๕๑

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Khao San Road

ผมเพ็ชรสยามครับ วันนี้เป็นที่ผมว่าง เพราะพึ่งสอบเสร็จพอดี เกิดอารมณ์คึกคักอยากถ่ายภาพ และเดินเล่นๆ ก็เลยออกไปถ่ายภาพสวยๆ (สวยหรือเปล่า)มาฝากเพื่อนชาวบล็อคกันครับ วันนี้ผมเก็บภาพบรรยากาศที่ถนนข้าวสารมาฝากเพื่อนกันครับ หลายคนที่อยู่ต่างจังหวัดยังไม่รู่ว่าถนนข้าวสารยามค่ำคืนเป็นยังไง มาดูพร้อมกัน

พ่อค้า แม่ค้า ในซอยถนนคนเดิน เริ่มตั้งร้านขายของกันแล้วครับ  

สำหรับร้านั่งชิวพี่คนนี้ บรรยากาศดีมากราคาเป็นกันเองครับ

เห็นเจ้าของร้านไหมครับ นั่งรอรับลูกค้า

ไม่มีลูกค้าเข้าร้านเลย จะทำไรดีเราสองคน

บรรยากาศในถนนข้าวสาร วันนี้มีคนเยอะมากทั้งชาวไทยและต่างชาติ

คนเยอะแบบนี้จะนั่งร้านไหนดี หรือจะเดินเล่นก่อน

เขามาเป็นคู่เพื่อนซีกัน แล้วคุณละมากับใคร

ปิดท้ายด้วยร้านอาหารเคลื่อนที่ในถนนข้าวสาร ขอกระสิบว่าทุกร้านอร่อยมาก รับรองได้

สำหรับใครอยากมาเดินเล่นยามค่ำคืนที่ถนนข้าวสาร เปิดหูเปิดตา ก็มาเดินเล่นซื้อของกันได้นะครับ บรรยากาศดี มีชาวต่างชาติมาเดินเยอะมาก ตามที่เห็นในภาพ หามุมสวยๆถ่ายภาพเก็บเป็นที่ระลึกไว้ก็ดรนะครับ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ บางเขน

พี่โป๊ะ และอิง กำลังเตรียมตัวออกเดินทาง
 หลังจากน้ำได้ลดลงไปแล้ว ผมก็ชวนเพื่อนๆที่มหาวิทยาลัยไปช่วยกันทำความสะอาดให้กับชาวบ้าน ทุกคนต่างก็ดีใจที่ได้ช่วยชาวบ้าน
ทีมจิตอาสาที่เข้ามาช่วยทำความสะอาด 

กวาดพื้น เก็บขยะ

ขยะเยอะมากแต่ทุกคนก็ช่วยกัน

เหนื่อยมาก แต่ทุกคนก็สู้เต็มที่


วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

petsayam: สนุกกับการเรียนวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์

petsayam: สนุกกับการเรียนวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์: การเรียนสาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นการเรียนที่สนุกและได้ทำกิจกรรมในระหว่างเรียน และผมเป็นคนหนึ่งที่ได...

สนุกกับการเรียนวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์


การเรียนสาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นการเรียนที่สนุกและได้ทำกิจกรรมในระหว่างเรียน และผมเป็นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาศจากเพื่อนๆให้อัดเสียงโฆษณาทางวิทยุ หรือการจับโปรแกรม และคุมสวิตเชอร์ การควบคุมแผงทำงานของการจัดรายการวิทยุ ซึ่งมันเป็นโอกาศที่ดีมากต่อการทำงานในอนาคตของผม
บรรยากาศเย็นๆหลังฝนตกที่มธบ และเป็นเวลาที่ผมต้องเรียนการเขียนบทโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง

เตรีมตัวอัดเสียงสปอร์ตโฆษณา 

เข้าห้องสตูดิโออัดเสียง

เริ่มอัดเสียงแล้วนะครับ เครื่องมือดีมาก





จะหมุนตัวไหนดี เสียงถึงจะออกมาดีและเล้าใจสุดๆ




จะจับตัวไหนดี 

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ท่องเที่ยววิถีถิ่น ย่านหลานหลวง เขตพระนคร


กิจกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่น
(เส้นทาง ข.รอบย่านนางเลิ้ง ย่านที่อยู่ขุนนาง แหล่งการค้า สถานบันเทิง)
เพื่อการเรียนรู้ และการเสริมสร้างความเข้าใจในมรดกวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า
ในงานเตร่ ตรอก ลัดรั่วรอบบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ-พระนคร ครั้งที่๒
ตอน"ย้อนรอยอดีต สู่วิถีชุมชน ฟื้นฟูวัฒนธรรม"
วันเสาร์ ที่๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๕
ณ ย่านหลานหลวง และย่านนางเลิ้ง



















วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จุดเปลี่ยนสังคมไทย...ไม่ยอมรับคอร์รัปชัน


แม้ว่าการดำเนินงานในช่วงยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่๑ ยังมีข้อจำกัดหลายประการ แต่ทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อกการทุจริตคอร์รัปชันได้เปลี่ยนไปในทางทิศทางไม่ยอมรับการทุจริตมากขึ้น รายงานการสำรวจทัศนะของภาคธุรกิจและภาครัฐที่มีต่อสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กันยายน ๒๕๕๔ บ่งชี้ว่าในปัจจุบันประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องไกลตัวไม่ได้เกี่ยวกับตัวเองโดยตรง และไม่คิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็รวัฒนธรรมไทย เงินใต้โต๊ะเป็นธรรมเนียม  นอกจากนี้ ท่าทีของหลายฝ่ายในสังคมที่แสดงออกอย่างชัดเจถึงการรไม่ยอมรับหรือไม่ยอมทนให้มีการทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นในสังคมไทยอีกต่อไป ทั้งในส่ววนภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันภาคเอกชนได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการวังวนของการทุจริตอโดยได้เร่งผลักดัน โครงการฮั้วกันไม่จ่าย ซึ่งเป็นการจัดระเบียบในส่วนของภาคเอกชนเอง และในส่วนภาคประชาชนได้ส่งสัญญาณไม่ยอมรับการทุจริตและยินดีร่วมต่อต้านการทุจริตโดยผลการสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธันวาคม ๒๕๕๔ พบว่า ประชาชนถึงร้อยล่ะ ๖๔ ไม่เห็นด้วยถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันแต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้แก่สังคม และประชาชนที่พร้อมแจ้งและรายงานเบาะแสเมื่อพบการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งยินดีมีส่วนในการป้องกันต่อต้านคอร์รัปชันก็สัดส่วนเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหล่านี้ นับเป็นสัญญาณ ที่ดีในการที่สำนักงาน ป.ป.ช. จะผนึกกำลังกับทุกภาคส่วน เพื่อเดินหน้าฝ่าวิกฤติคอร์รัปชันในระยะต่อไปให้ได้ ทิศทางที่ควรกันผลักดันมีดังนี้
(๑) ประสานความร่วมมือกับรัฐบาลในการผลักดันการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง ทั้งที่เป็นเรื่องทั่วไปและเรื่องที่ต้องการสนับสนุนระดับนโยบาย โดยแนวทางความร่วมมือทั่วไป อาทิการพัฒนารุปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับต่างๆที่เปิดโอกาศให้ฝ่ายบริหารและหน่วยงานภภาครัฐได้ร่วมเสนอและความคิดเห็นมากขึ้น การวางระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เอื้อต่อการต่อต้านการทุจริต การประสานความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกระแสต่อต้านคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านสาระที่ต้องการเผยแพร่และรูปแบบของสื่อที่จะใช้ และการสนันบสนุนเชิงนโยบาย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศโดยรวมที่สำคัญได้แก่ ผลักดันแก้ไขข้อจำกัดด้านงบประมาณ ที่รัฐบาลควรเร่งรัดแก้ไขแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ให้หน่วยงานได้รีบการสนับสนุนอย่างพอเพียง ทั่วถึง พร้อมทั้งกระจายงบประมาณดำเนินการสู่พื้นที่อย่างเหมาะสม โดนชยเฉพาะในพื้นที่มีปัญหาการทุจริตรุนแรง เร่งรัดนำมาตรการป้องกันการทุจริตที่มีพร้อม ไปใช้ในการปฏิบัติ สนับสนุนกลไกป้องกันการทุจริตที่ภาคเอกชนร่วมกันสร้าง อย่างจริงจัง 
(๒) ส่งเสริมการศึกษา เพื่อสร้างเยาวชนที่เป็นสุจริตชน ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันสนับสนุนส่งเสริมการให้นโยบายการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ปรับทิศทางจากการมุ่งสร้างคนเก่ง คนดี ดำรงชีวิตสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถก่อร่างสร้างตัวอย่างสุจริต มีคุณธรรม และจริยธรรม เน้นสร้างจิตสุจริตชน เพื่อสังคมที่มีเสถียรภาพสามารถพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าอย่างมั่งคง รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการทุจริตของประเทศอย่างยั่งยืน
(๓) พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ สู่การปฏิบัตที่มุงผลสัมถทธิ์ แนวทางที่สำคัญ อาทิ ๑) จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ที่ยึดโยงกับเป้าหมายและแนวทางยุทธศาสตร์ชาติฯ ๒) กำหนดกลไลบริหารขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงการทำงานทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน ป.ป.ช. ๓) เตรียมการพัฒนาและปรับปรุงกฏ ระเบียบ เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับพหุภาคีที่ไม่ใช่ภาคราชการ ๔) สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องรวมถึงบุคลากรของสำนัก ป.ป.ช. ในเรื่องทิศทางและเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงานอและผุ้เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกำหนดแนวทางขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานอย่างชัดเจ โดยมีการแบ่งอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตกลงร่วมกัน และ ๕) วางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในทุกระดับและส่งเสริมการจัดทำดัชนีเพื่อเป็นเครื่องติดตามความก้าวหน้า ประเมินผลความสำเร็จ/ล้มเหลวและรางานต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง


                                                                         เรียบเรียงโดย
                                                              นาย  เพ็ชรสยาม  พรหมงอย
                                                นักศึกษานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ทำไมต้องเลือกคุณเข้ามาแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น

ก่อนอื่นที่ไปพูดถึงการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น  เราก็ต้องรู้ก่อนถึงความหมายก่อนว่าคอร์รัปชั่นที่แท้จริงคืออะไร  ที่จริงการคอร์รัปชั่นมันก็คือการโกงกินชาติบ้านเมืองนั้นเอง  โดยทำงานแล้วหวังผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม  ทั้งที่รู้ดีแก่ใจว่าเป็นคนของประชาชน   ทำงานเพื่อประเทศชาติ  นี้เป็นการแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดของกลุ่มคอร์รัปชั่นที่โกงกินชาติบ้านเมือง ซึ้งในตอนนี้มีหลายๆฝ่ายที่คิดและหาหนทางที่จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในประเทศ   แต่ผมเชื่อว่า  หลายๆความคิด คือคิดได้ว่าอยากจะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น  แต่คุณสามารถแก้ไขได้ไหม  คิดแล้วทำได้ไหม  พูดออกมาแล้วคนอื่นเข้าใจสิ่งที่คุณพูดหรือเปล่า   มันแค่การพูด   ทุกคนสามารถพูดได้   แต่ถ้าทำทุกคนสามารถทำได้หรือเปล่า ปฏิบัติได้ไหมในสิ่งที่พูดในสิ่งที่คิด  ดังนั้นสิ่งแรกที่มนุษย์ต้องมีคุณรรม  จริธรรม  ที่ฝังลึกอยู่ในหัวใจ  สิ่งที่คุณสั่งสมมาตั้งแต่เยาว์วัย  ร่ำเรียนมา  มันคือคุณธรรม  จริยธรรม  ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัวที่คอยดูแล ควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในกฏเกณฑ์  สถาบันการศึกษาที่คอยสั่งสอนให้คุณรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน  สถาบันสังคมที่คอยให้คุณรู้จักโลกใบนี้มากขึ้นว่ามันมีอะไรที่จะให้เราได้พัฒนาไปในทางที่ดีและสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามให้กับชาติบ้านเมือง   แต่ก็ยังไม่วายที่จะต้องพบเห็นคนเห็นแก่ตัวมาโกงชาติ โกงเมือง  จนทำให้ชาติบ้านเมืองต้องมาทะเลาะกัน  ตบตีกับ  กับแค่อำนาจของเงินตรา   ดังนั้นในวันนี้ผมจึงต้องลุกขึ้นมาปกป้องชาติบ้านเมืองให้กลับมาเป็นเมืองไทยที่อุดมสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม  จริยธรม  หันไปทางไหนก็มีแต่รอยยิ้มที่สง่า โดยที่เรามีน้ำใจที่จะยื่นมือเข้าช่วยเหลือผู้อื่นก่อนเสมอ   สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าน้ำใจมันคือพลังอันแข็งแกร่งที่จะดำรงคู่กับคนไทย  แล้วความเสียสละก็คือการที่เราได้ยอมสละเวลา   สละแรงกาย เพื่อที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมนั้นๆให้ ลุลวงไปได้ด้วยดี    แต่การเสียสละก็ยากนักที่จะมีคนเสียสละให้   ผมจึงต้องทำให้เห็นและปฏิบัติให้เห็นว่าสิ่งที่ไม่ใช่งานของเรา   ไม่เกี่ยวกับเราแต่เราก็สามารถทำได้โดยที่เราเองก็เสียสละเวลายื่นมือเข้าไปช่วยโดยที่เราก็เต็มใจ    ถ้าเราเป็นก้าวแรกแล้วทำอย่างมีเหตุมีผล  รู้ดีว่าทำอะไร แล้วก้าวที่สอง ก้าวที่สามมันก็จะตามมา   ไม่ว่าเราจะทำอะไรเราอย่าไปคิดว่าเราตามเขานะ  แต่ให้เราคิดว่าเราก็คือก้าวแรก ดังนั้นถ้าทุกคนคิดว่าตัวเองนั้นเป็นก้าวแรก มันก็จำมีกำลังใจในการทำงาน  ไม่คิดที่จะอยากได้อยากมีอะไรจนเกินไป   ทุกวันนี้ผมเดินไปโดยที่มีจุดหมายว่าเมืองไทยต้องเปลี่ยน  เปลี่ยนจากการเห็นแก่ตัวมาเป็นเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม   โดยการฝึกตนเองให้เป็นผู้ให้เสมอ   ให้แบบไม่คิดอะไรกลับมา   ปลูกฝังเด็กๆเยาวชนที่ขาดการเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง   ผู้ด้อยโอกาศทางการศึกษา   เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า  สิ่งที่ผมได้พูด  ได้ปฏิบัติ  มันจะต้องตอบโจทย์ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นภายในประเทศได้อย่างแน่นอน    เพราะผมได้ลงมือให้หลายๆคนได้เห็นถึงศักยภาพของคนๆหนึ่งที่พร้อมจะเผชิญกับทุกๆสิ่ง  และอยากจะเปลี่ยนความคิดของเยาวชนคนไทยให้หันมาเห็นถึงปัญหาการคอร์รัปชั่นภายในประเทศให้มากขึ้น   ถ้าเราไม่ร่วมมือ  ร่วมใจกัน   ประเทศชาติก็คงจะมีแต่คนที่เห็นแก่ตัว โกงชาติ โกงเมือง  ประชาชนอดยาก  ข้าวปลาอาหารก็แพง    ผมเชื่อว่าในความคิดของผมย่อมมีคนที่เห็นด้วยและพร้อมที่จะกล้าคนปลูกฝังกลุ่มเยาวชนตัวเล็ก   อบรมสั่งสอนให้รู้จักถึงความเสียสละ ความมีน้ำใจ   และที่สำคัญคือความมีคุณธรรม  จริยธรรมที่ฝังลึกในหัวใจ    และในอนาคตสิ่งที่คิดและ ได้ปฏิบัติมันก็จะขับเคลื่อนประเทศชาติของเราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป   เพราะว่าไม่มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นในประเทศ  เห็นไหมละครับว่าสิ่งเล็กๆเหล่านี้เราสามารถทำได้   แต่ทำไมหลายๆคนกลับทำไม่ได้  และมองข้ามมันไป  ดังเรามาร่วมกันเดินไปพร้อมๆกันนะครับ   สองเท้ากับอีกสองมือทั่วประเทศ    ร่วมคิดร่วมฝันแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นให้ห่างหายไปจากประเทศชาติของเรา   เพื่อความมั่งคงและความรุ่งเรืองแห่งสยามประเทศ   ถ้าวันนี้เราไม่ลองก้าว เราจะไม่มีวันรู้เลยว่าวันข้างหน้านั้นเป็นอย่างไร  เรียบเรียงโดย เพ็ชรสยาม พรหมงอย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน


การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมาส่งผลให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันในเวทีโลก โดยนำแนวคิดการพัฒนาตามกระแสที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ คือ การพัฒนาแบบทุนนิยมมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ นำไปสู่ความทันสมัย ขณะที่ยุคโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทยทุกระดับ เปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างไร้พรมแดน ขณะเดียวกันนำมาซึ่งค่านิยมที่มุ่งวัตถุ มุ่งความสะดวกสบายรวดเร็ว หากสังคมไทยปราศจากภูมิคุ้มกันที่ดีจะก่อให้เกิดความเสื่อมถอยทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งเป็นรากฐานของความสุข ความมั่นคงและความเข้มแข็งของชุมชน จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาสังคมไทยให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง พร้อมเผชิญสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันแนวคิดและความสำคัญของทุนทางสังคมเป็นที่ยอมรับขององค์กรพัฒนาระหว่างประเทศต่าง ๆเช่น ธนาคารโลก องค์กรความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ต่างก็ตระหนักในคุณค่าของทุนทางสังคมว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนอันนำไปสู่ความผาสุกของคนในชาติ โดยเฉพาะ OECD พิจารณาว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากทุน 4ประเภท ได้แก่ ทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนมนุษย์และทุนทางสังคม ซึ่งจากการประเมินประสิทธิภาพของปัจจัยทั้ง 4 ทุนดังกล่าว พบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเป็นผลมาจากปัจจัยด้านทุนมนุษย์และทุนทางสังคมถึง 4 ส่วน ขณะที่เกิดจากทุนทางกายภาพและทุนทางการเงินเพียง 2 ส่วนเท่านั้นในบริบทสังคมไทย ทุนทางสังคมถือเป็นทุนสำคัญที่เสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีงามของคนในสังคมและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการปกครองของประเทศมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริการและกระบวนการผลิตในภาคเศรษฐกิจ การบรรเทาความรุนแรงและแก้ปัญหาในยามที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางเศรษฐกิจมีข้อจำกัด การแก้ปัญหาและฟื้นฟูให้คนไทยและสังคมไทยกลับมาดำรงสถานะเดิมได้จำเป็นต้องอาศัยทุนทางสังคมช่วยสนับสนุน ยกตัวอย่างในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ได้มีนักคิดและผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านประเมินว่า การที่สังคมไทยยังคงดำรงอยู่ได้เนื่องจากมีทุนทางสังคมมากมายเป็นตาข่ายรองรับที่มีความเชื่อมโยงแน่นหนาอยู่บนพื้นฐานเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่มีจุดเด่นหลายประการ อาทิ การมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ มีระบบเครือญาติและชุมชนที่เข้มแข็งบนพื้นฐานวัฒนธรรมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจไมตรี ดังนั้น ถ้าประเทศไทยสามารถนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมแล้วจะพัฒนาคนในชาติให้มีความสุข ประเทศชาติมีความสมดุลและเกิดความยั่งยืนทุนทางสังคมเกิดจาก การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจสายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ใน องค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และ องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม องค์ประกอบหลักทั้ง 4 ด้านมีบทบาทและยึดโยงให้เกิดทุนทางสังคม ดังนี้
2.1 คน มีบทบาทหลักในการพัฒนาประเทศ ที่ต้องได้รับการพัฒนาในทุกมิติทั้งด้าน สุขภาพ ที่มุ่งให้คนมีร่างกายแข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้ ด้านจิตใจ ให้เป็นคนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจเอื้ออาทร เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความเสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ และรักชาติฯลฯ และด้านสติปัญญา ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่องจนมีนิสัยใฝ่รู้ไปตลอดชีวิตและพร้อมปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อมารวมตัวร่วมคิด ร่วมทำในกิจกรรมต่างๆ นำความรู้ที่ตนเองมีอยู่มาแลกเปลี่ยน เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.2 สถาบัน มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดพลังร่วมของคนในชุมชน/ สังคมทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยมีสถาบันหลัก อาทิ สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานในสังคมที่หล่อหลอมคนตั้งแต่แรกเกิด เป็นแหล่งบ่มเพาะ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม รวมทั้งจิตสำนึกรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม สถาบันศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม กล่อมเกลาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดี สถาบันศาสนาที่มีความเข้มแข็งจะสร้างศรัทธาให้แก่คนในสังคมและเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สถาบันการเมืองการปกครอง ทำหน้าที่กำกับ ดูแลให้สังคมอยู่ในระเบียบแบบแผนและให้คนในสังคมปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดร่วมกัน สถาบันการศึกษา เป็นแหล่งสร้างความรู้ทางวิชาการควบคู่กับการพัฒนาให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมแก่คนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งมีความพร้อมทางด้านการบริหารจัดการ บุคลากร ทรัพยากร และเครือข่าย เมื่อประกอบกับการใช้หลักบรรษัทภิบาลในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินธุรกิจที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมแล้วจะเป็นทุนทางสังคมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล และ สื่อ เป็นสถาบันที่สามารถชี้นำและมีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรม ค่านิยมของคนในสังคมในอย่างกว้าง
2.3 วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ เป็นในรูปของความเชื่อ ความศรัทธา จารีตประเพณีที่ดีงาม ค่านิยมความเป็นไทย นอกจากนี้ ยังมีในรูปของแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ฯลฯ วัฒนธรรมเป็นตัวยึดโยงคนในสังคมให้ตระหนักถึงรากเหง้าของตนเอง เกิดความหวงแหน ภูมิใจที่จะรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูพัฒนาและต่อยอดเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ
2.4 องค์ความรู้ ประกอบด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นศาสตร์และศิลป์ของการดำเนินชีวิตที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นฐานคิดและหลักเกณฑ์การกำหนดคุณค่าและจริยธรรมที่มีการสั่งสมสืบทอดกันมายาวนานจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง จากอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดความหลากหลายของความรู้ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ และสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกันของคนและธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกัน ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้ มีความหลากหลาย ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อตอบสนองเป้าหมายหรือความต้องการของชุมชนได้ เช่น ความต้องการของตลาด การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้อย่างเหมาะสม เป็นต้น องค์ประกอบหลักทั้ง 4 ด้านนับว่าเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของสังคมไทย เมื่อใช้ ผสมผสานกันบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและระบบความสัมพันธ์จะก่อให้เกิดเป็นทุนทางสังคมดังนั้น ทุนทางสังคมจึงเกิดจากการสั่งสม ปรับเปลี่ยน ต่อยอด พัฒนาและสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาขณะเดียวกัน ทุนทางสังคมสามารถลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปหากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำสลายลง3 การประเมินสถานภาพทุนทางสังคมการประเมินสถานภาพทุนทางสังคมในองค์ประกอบหลักดังกล่าว พบข้อเท็จจริงที่สามารถสะท้อนจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์ประกอบเหล่านี้ที่นำไปใช้ประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมต่อไปได้ ดังนี้
3.1 การประเมินสถานภาพคน พบว่า
(1) สุขภาพของคนไทยต้องเน้นการป้องกันโรคและการเสริมสร้างสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น โรคหัวใจที่มีอัตราการเจ็บป่วยสูงเป็นอันดับหนึ่ง คือ 451.45 ต่อประชากรแสนคนในปี 2546 โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีอัตราการป่วย 389.83 และ 380.75 ต่อประชากรแสนคนในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นต้น
(2) การศึกษาของคนไทยต้องเร่งพัฒนาคุณภาพทั้งความรู้และคุณธรรมแม้ว่าในภาพรวมคนไทยมีการศึกษาสูงขึ้น มีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 7.6 ปี ในปี 2545 เป็น 7.8 ปี ในปี 2546 และเพิ่มเป็น 8.1 ปี ในปี 2547 แต่ยังไม่ถึงระดับการศึกษาภาคบังคับและนับว่าต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ที่ประชากรมีการศึกษาเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี ขณะเดียวกัน คุณภาพการเรียนในวิชาหลักยังต้องเร่งยกระดับ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ม.3 และชั้น ม.6 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับพอใช้และดีร้อยละ 45 และร้อยละ 43 ตามลำดับ1 ส่วนวิชาภาษาอังกฤษ จากผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (GAT) ในปีการศึกษา 2547 ของนักเรียนชั้น ป. 6 ม. 3 และ ม. 6พบว่ามีคะแนนผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับต่ำ กล่าวคือ มีคะแนนเฉลี่ย 14.94 12.91 และ 16.23 ตามลำดับจากคะแนนเต็ม 40 คะแนน และมีข้อสังเกตว่ามีนักเรียนจำนวนไม่น้อยมีเจตคติเชิงลบต่อการเรียน 1 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (GAT) ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 ปี 2546 ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มห่างเหินหลักธรรมทางศาสนา โดยวัยรุ่นร้อยละ 45 ไม่เคยไปทำบุญตักบาตร และร้อยละ 65 ไม่เคยไปวัดฟังธรรมเลยในรอบ 1 เดือน2 เป็นต้น
(3) คนไทยมีคุณลักษณะที่ดีเอื้อต่อการเพิ่มทุนทางสังคม ลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของคนไทยหลายประการ อาทิ ความยิ้มแย้มแจ่มใส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบเอาใจและบริการผู้อื่นเปิดรับสิ่งใหม่ ฯลฯ เป็นทุนทางสังคมที่ต้องรักษาให้คงอยู่และทำให้สังคมไทยแข็งแกร่ง สงบสุข และสมานฉันท์ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถนำไปเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆเช่น การผลิต การค้า และบริการ
3.2 สถาบันทางสังคมมีบทบาทน้อยในการเป็นทุนทางสังคม แม้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งถือเป็นสถาบันหลักยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติมาต่อเนื่องยาวนานอย่างไม่เสื่อมคลาย แต่สถาบันอื่น ๆ ยังต้องมีการพัฒนาเพื่อผลักดันให้เป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของสังคมไทย
จากบทความที่อ่านมาขอแสดงความคิดเห็นว่า
                ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สังคมแบบไหนก็ตาม ถ้าได้รับการปลูกฝังในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมและคุณค่าของทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่มีอยู่ เราก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งสังคมนิยมให้มาก ค่อยๆพัฒนาให้เป็นรูปธรรมตามกระบวนการ ใช้ทรัพยากรอย่างถูกวิธีและให้รู้จักคุณค่าของทรัพยากรให้มากๆ นำมาใช้ก็ต้องรู้จักทดแทนและคิดที่จะรักษามันเอาไว้ ควรที่จะนำเอาเศษรฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันและปลูกฝังให้ลูกหลานนำไปปฏิบัติต่อไปในอนาคตที่อย่างยั่งยืน